วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิภาคนี้มีลักษณะโดดเด่นกว่าส่วนอื่นของประเทศประกอบด้วยจังหวัด 19 จังหวัดคือ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี เลย ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองบัวลำภู และ อำนาจเจริญ นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่และประชากรมากที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆ มากที่สุด

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552



แพทย์แผนจีน
[ หน้าแรก ] [ การแพทย์แผนจีน ] [ กายบริหาร ] [ ธรรมะ ] [ คลินิค ]
อวัยวะภายใน
ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน ได้แบ่งอวัยวะภายในเป็น อวัยวะภายใน ทั้ง 5 และอวัยวะกลวงทั้ง 6
อวัยวะภายในทั้ง 5 ประกอบด้วย
หัวใจ
ปอด
ม้าม
ตับ
ไต
อวัยวะกลวงทั้ง 6 ประกอบด้วย
กระเพาะอาหาร
ถุงน้ำดี
ลำไส้ใหญ่
ลำไส้เล็ก
กระเพาะปัสสาวะ http://www.tsosot.i8.com/theory01.htm
ซานเจียว

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552





























ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
.............................
1. Case (เคส) ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์2. Monitor (มอนิเตอร์) จอคอมพิวเตอร์3. Mouse (เมาส์) เมาส์4. Keyboard (คีย์บอร์ด) แป้นพิมพ์

1. Case (เคส) ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

Case (เคส) ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายใน Case (เคส) ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
Case (เคส) ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึง กล่องสี่เหลี่ยมที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ โดยภายในกล่องจะติดตั้งส่วนต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด เพาเวอร์ซัพพลาย และอื่นๆ ไว้ภายใน โดยทั่วไปตัวเครื่องนั้นอาจจะออกแบบให้วางในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ เครื่องที่ถูกออกแบบให้วางแนวนอนเรียกว่า Desktop (เดสทอป) หรือแบบตั้งโต๊ะ ส่วนตัวเครื่องที่ถูกออกแบบให้วางในแนวตั้งจะเรียกว่า Tower ( เทาเวอร์)
2. Monitor (มอนิเตอร์) จอคอมพิวเตอร์

Monitor (มอนิเตอร์) จอคอมพิวเตอร์ หมายถึง ส่วนที่ใช้แสดงผล ที่เป็นรูปภาพ หรือตัวอักษร
3. Mouse (เมาส์) เมาส์
Mouse (เมาส์) หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้เลือกหรือสั่งคำสั่งบนจอคอมพิวเตอร์
4. Keyboard (คีย์บอร์ด) แป้นพิมพ์

Keyboard (คีย์บอร์ด ) แป้นพิมพ์ หมายถึง ปุ่ม ที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และปุ่มควบคุมต่างๆ


ไก่ต้มโค๊ก
สิ่งที่จะต้องเตรียมคือ- น่องไก่ หรือ สะโพกไก่ก็ได้- รากผักชี 4 ราก- พริกไทยเม็ด (จะเอาขาวหรือดำก็ได้ แต่จะให้ดี ขาวดีกว่า) 20 เม็ด- กระเทียม 2หัว- เกลือเล็กน้อยสูตรไก่ต้มโค๊กจะเน้นไปทางเครื่องปรุงค่ะเอาเครื่องปรุงมาตำรวมกัน พอแหลกๆ แต่อย่าแหลกมานัก เอามาคลุกเคล้าไก่ให้ทั่ว แช่ตู้เย็นไว้ 20 นาทีเอาโค๊กลิตร 1 ลิตร ใส่หม้อ ใส่เกลือนิดนึง (ระวัง อย่าใช้ไดเอ็ทโคก เพราะจะได้รสชาติไม่ดี) พอเดือดก็ใส่ไก่ทั้งหมด รวมทั้งเครื่องเทศที่เหลือ ใส่ลงไปด้วยปล่อยทิ้งไว้ หมั่นคนครั้งคราว เคี่ยวให้เป็นยางมะตูม คราวนี้ก็ตักใส่จาน โรยผักชี พร้อมเสิร์ฟ จะกินกับข้าวก็ได้ หรือ จะดัดแปลงไปใส่ก๋วยเตี๋ยวก็ได้เคล็ดไม่ลับนิดนึง รสชาติเนื้อไก่จะออกหวานๆผสมเค็มนิดหน่อย เนื้อไก่จะเปื่อยนุ่ม ถ้ากินกับข้าว ควรทำซุปต้มฟัก เพื่อซดน้ำตามด้วย จะได้ไม่ฝืดคอ เพราะมันแห้ง ถ้าจะใส่ก๋วยเตี๋ยวน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวควรเป็นซุปน้ำใสอันนี้อีกสูตร...แต่คิดว่ารสชาติน่าจะคล้ายๆกันนะ (เว็บเจ้าของรูปคับ)

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม
เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ระเบียบเเถว






















ระเบียบแถวในกิจกรรมลูกเสือและเนตรนารี...





พิธีการสวนสนามและกล่าวคำปฎิณาญของคณะลูกเสือ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม
การสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือ
วันที่ ๑ กรกฎาคม ของทุกปี ถือว่าเป็นวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงสถาปณากิจการลูกเสือไทยขึ้นเป็นครั้ง แรก เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ทางคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จึงได้ถือเอา วันที่ ๑ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันที่ ลูกเสือทุกคนทุกประเภท จะต้องแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โดยการกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือเฉพาะพระพักต์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือตัวแทนพระองค์ หรือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกระทำพิธีสวนสนาม ซึ่งมีขั้นตอนและพิธีปฎิบัติดังนี้
พิธีการนี้เป็นการจัดในระดับอำเภอหรือที่โรงเรียนซึ่งไม่มีธงคณะลูกเสือแห่งชาติหรือธงลูกเสือประจำจังหวัด
การจัดเตรียมสถานที่
๑.ในการจัดพิธีภายในจังหวัดให้นำธงลูกเสือประจำจังหวัดอัญเชิญโดยกองลูกเสือเกียรติยศมาประจำแท่นที่เตรียมเพื่อรับการเคารพ
๒.เครื่องหมายหรือธงที่จะแสดงจุดที่จะให้ลูกเสือแสดงความเคารพ จะมี ๓ จุด คือ
ธงที่ ๑ ธงเตรียมทำเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๒๐ ก้าว
ธงที่ ๒ ธงเริ่มทำความเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ธงที่ ๓ ธงเลิกทำความเคารพอยู่ถัดจากผู้รับการเคารพไปทางขวามือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่จะเข้าร่วมพิธีสวนสนาม
๑.ประธานในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง กางเกงขาสั้น ซึ่งประธานถ สำหรับพิธีในจังหวัดจะได้แก่ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด ประธานในพิธีสำหรับอำเภอ ได้แก่ ผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอหรือรองผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ
๒.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือและรองผู้กำกับกองลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามประเภทของลูกเสือที่ตนทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองและรองผู้กำกับกอง ถ้าเป็นลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ จะต้องมีไม้ถือของลูกเสือตามประเภทของลูกเสือ ส่วนลูกเสือสำรองไม่ต้องมีไม้ถือ
๔.ลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทของตน ลูกเสือสามัญ มีไม้พลอง นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ มีไม้ง่าม นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสำรองไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม
๕.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ถือป้ายกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๖.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ ถือธงประจำกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๗.ลูกเสือ ๑ กองจะประกอบด้วยลูกเสือ ๖ - ๘ หมู่ หมู่ ๑ประกอบด้วยลูกเสือ ๗ - ๘ คน
๘.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คนและรองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ต่อลูกเสือ ๑ กอง
๙.วงดุริยางค์ที่ร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทที่ตนสังกัด
๑๐.ลูกเสือชาวบ้านแต่งชุดปกติสวมผ้าผูกคอลูกเสือชาวบ้านติดเครื่องหมายคณะลูกเสือแห่งชาติ
การเตรียมแถวและรูปขบวนเพื่อทำพิธีสวนสนาม
๑.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือป้ายชื่อกองลูกเสือยืนอยู่ด้านหน้าสุด
๒.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือธงประจำกองลูกเสือยืนห่างจากผู้ถือป้ายกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๔.รองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้กำกับกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๕.ลูกเสือจัดแถวหน้ากระดานหมู่ปิดระยะ นายหมู่อยู่ทางขวามือ ห่างจากรองผู้กำกับฯ ๓ ก้าว
๖.ระยะห่างระหว่างหมู่ ๑ ก้าว
๗.ลูกเสือแต่ละกองจะมีผู้กำกับฯ ๑ คน และรองผู้กำกับฯ ๑ คน ยืนต่อกันไปด้านหลังจากกองที่ ๑
๘.กองลูกเสือของแต่ละโรงเรียนจะยืนเรียงกันไป ระยะห่างระหว่างกอง ๕ ก้าว
๙.แถวกองผสม ซึ่งหมายถึงผู้กำกับฯที่มาร่วมพิธีและไม่ได้ประจำกองลูกเสือ จัดแถวหน้ากระดาน เรียง ๘ โดยมีผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนตรงกลางหน้าสุด เมื่อเริ่มเดินสวนสนาม
๑๐.แท่นรับความเคารพและพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ตรงหน้าแถวลูกเสือทั้งหมด
การเริ่มพิธีสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือ
๑.กองลูกเสือตั้งแถวตามที่กำหนดไว้ ยืนอยู่ในท่าตามระเบียบพัก
๒.กองผสมตั้งแถวอยู่ที่หัวขบวน
๓.ผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนประจำที่เตรียมพร้อมที่จะกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี
๔.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธีตั้งแถวรอรับประธาน
๕.เมื่อถึงเวลาประธานในพิธีมาถึงบริเวณพิธี ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เคารพประธานในพิธี (ตรงหน้า-,ทางขวา,ทางซ้าย-ระวัง) " "วันทยาวุธ" ลูกเสือทุกคนทำความเคารพ ผู้ที่มีไม้พลอง ไม้ง่าม ทำวันทยาวุธ ผู้กำกับลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าไม้ถือ แขกผู้มีเกียรติ และผู้ที่ไม่มีไม้ถือให้ทำวันทยาหัตถ์ ลูกเสือสำรองยืนในท่าตรงไม่ต้องทำ วันทยาหัตถ์ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ผู้ที่ถือธงทำความเคารพด้วยท่าธง ผู้ถือป้าย ยืนตรงไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ประธานในพิธีและผู้ติดตามที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือรับความเคารพ ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ จนจบเพลงหมาฤกษ์
๖.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์จบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปรายงานจำนวนผู้บังคับบัญชา ลูกเสือและจำนวนลูกเสือที่มาร่วมในพิธีและเชิญประธานตรวจพลสวนสนามและเดินตามประธานตรวจพล พร้อมผู้ติดตาม ในขณะนั้นทุกคนทำวันทยาวุทธและท่าตรง เมื่อประธานเดินผ่านกองลูกเสือใดให้ผู้ถือธง ประจำกองลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าเคารพธง จนตรวจครบทุกกองผู้บังคับขบวนสวนสนามส่งประธาน ประจำที่และกลับประจำที่เดิมสั่ง " เรียบ-อาวุธ " ทุกคนปฎิบัติตาม
๗.ตัวแทนลูกเสือกล่าวรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี หรือถ้ามีลูกเสือได้รับเครื่องหมายลูกเสือสรรถ เสริญหรือเหรียญสดุดีลูกเสือหรือได้รับเครื่องหมายวูดแบด ก็อาจจะทำพิธีมอบในเวลานี้
๘.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือสำรองเตรียมกล่าวปฎิญาณ - ตามข้าพเจ้า -แสดงรหัส" ทุกคนแสดงรหัสลูกเสือสำรองแสดงรหัสลูกเสือสำรอง ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ ๒ นิ้ว ลูกเสืออื่น และผู้อยู่ในบริเวณพิธีแสดงรหัสลูกเสือ ๓ นิ้ว ไม่ต้องกล่าวตาม ลูกเสือสำรองกล่าวตาม
" ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสนามสั่ง " ลูกเสือสามัญ -ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ๋-ลูกเสือวิสามัญ-ลูกเสือ ชาวบ้าน-กล่าวคำปฎิญาณตามข้าพเจ้า" ทุกคนยังแสดงหรัสอยู่และกล่าวคำปฎิญาณตาม ส่วนลูก เสือสำรองยืนในท่าตรง ไม่ต้องกล่าว
" ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง " เอามือลง - ตามระเบียบพัก " ในการแสดงรหัสของลูกเสือที่ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม ให้เอาไม้ง่ามหรือไม้พลองพิงไว้ที่ไหล่ซ้ายโคนไม้ อยู่ระหว่างปลายเท้าทั้ง ๒ แขนซ้ายงอตั้งฉาก มือขวาแสดงหรัส ผู้ที่ถือธงก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ที่ถือไม้ง่าม หรือไม้พลอง ผู้ที่ถือป้านให้ถือป้ายด้วยมือซ้ายมือขวาแสดงรหัส ผู้กำกับที่มีไม้ถือก็แสดงรหัสด้วยมือขวา มือซ้ายถือไม้ถือ ลูกเสือหรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ไม่มีไม้ถือ ก็ให้ยืนตรงแสดงรหัสด้วยมือขวา
๙.เมื่อกล่าวคำปฏิญาณจบประธานให้โอวาท เมื่อจบแล้ว ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เตรียมสวนสนาม" หากมีแตรเดี่ยว แตรเดี่ยวก็จะวิ่งมาตรงหน้าประธานและเป่าแตรเตรียมสวนสนาม เมื่อแตรเป่าจบผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ขวาหัน" ดุริยางบรรเลงเพลงเดินสวนสนาม เช่น เพลงสยามมานุสติ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปยืนหน้ากองผสม สั่ง "กองผสม-หน้าเดิน" เมื่อเดินผ่านประธานแล้วให้วิ่งไปยืนทางด้านข้างประธานในท่าวันทยาวุทธ ส่วนกองผสมเดินผ่านไปแล้วเข้าประจำที่เดิม
๑๐.สำหรับกองลูกเสือแต่ละกองเมื่อพร้อมแล้ว รองผู้กำกับฯของแต่ละกองสั่ง "แบกอาวุธ" "หน้าเดิน
๑๑.เมื่อผู้กำกับกองลูกเสือเดินผ่านธงที่ ๑ ให้อยู่ในท่าบ่าอาวุธ ผ่านธงที่ ๒ ให้ทำความเคารพ ผ่านธงที่ ๓ ให้เลิกทำความเคารพ
๑๒.เมื่อรองผู้กำกับกองลูกเสือผ่านธงที่ ๑ ให้สั่ง "ระวัง" และอยู่ในท่าบ่าอาวุธ เมื่อผ่านธงที่ ๒ ให้สั่ง "แลขวาทำ" ตัวรองผู้กำกับก็ทำความเคารพ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็ให้เลิกทำความเคารพ
๑๓.กองลูกเสือเมื่อรองผู้กำกับสั่ง "แบกอาวุธ"ก็แบกอาวุธและหน้าเดิน เมื่อได้ยินรองผู้กำกับฯสั่ง "ระวัง" ทุกคนก็เตรียมตัวทำความเคารพ เมื่อรองผู้กำกับฯสั่ง "แลขวาทำ " ทุกคนสลัดหน้าไปทางขวายกเว้น นายหมู่ให้หน้ามองตรง แขนแกว่งปกติทุกคน ทั้งนี้ให้เริ่มทำเมื่อได้ยินคำสั่งไม่ต้องรอให้ถึงธงที่ ๒ และเมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ให้เลิกทำเองโดยไม่ต้องรอคำสั่ง ๑๔.สำหรับลูกเสือสำรองซึ่งไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เมื่อได้ยินคำสั่ง "ระวัง"ก็เดินปกติ เมื่อได้ยินคำ สั่ง "แลขวา-ทำ" ก็สลัดหน้าไปทางขวายกเว้นนายหมู่หน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนทั้ง ๒ ข้างแนบลำตัวไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็เดินแกว่งแขนปกติไม่ต้องรอคำสั่ง
๑๕.เมื่อลูกเสือทุกกองเดินผ่านประธานครบแล้วก็เดินกลับประจำที่เดิมรอส่งประธาน
๑๖.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมด-ตรง" "เคารพประธาน-ตรงหน้าระวัง " "วันทยาวุธ" ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ ทุกคนทำความเคารพเหมือนเมื่อตอนที่ประธานมา
๑๗.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงจบ ประธานกลับ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "เรียบ - อาวุธ" "เลิกแถว" เป็นอันเสร็จพิธี หลังจากนั้นอาจจะมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือแต่ละกอง
การทำความเคารพของผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือธงด้วยมือขวา โคนคันธงจดพื้นและแนบกับลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัวอยู่ในท่าตรง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพ ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาและยกคันธงขึ้นมาด้วยมือซ้ายมือขวาจับคันธงเหยียดถ ตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้นมาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวา ข้อศอกซ้ายตั้งได้ฉาก ครั้นแล้วทำกึ่งขวาหัน ลดปลายธงลงข้างหน้าช้าๆ จนคันธงขนานกับพื้น มือซ้ายอยู่เสมอแนวบ่าห่างจากตัวพอสมควร มือขวาจับโคนคันธงแขน เหยียดตรงไปทางด้านหลังตามแนวคันธง แล้วค่อยๆยกคันธงขึ้นช้าๆ จนคันธงตั้งตรง ทำกึ่งซ้ายหัน ใช้มือซ้ายจับคันธงลดลงมา จนมือซ้ายชิดมือขวา โค่นคันธงจดพื้น สลัดมือซ้ายกลับอยู่ในท่าตรง ท่าตามระเบียบพักก็ยืนเหมือนกับที่ตรง เพียงหย่อนเข่าซ้ายหรือขวาเล็กน้อย
ขณะเดิน
เมื่อได้ยินคำสั่งให้สวนสนามและแบกอาวุธให้ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาแล้วชิดมือขวายกคันธงขึ้นมา ด้วยมือซ้ายมือขวาเจับคันธงเหยียดตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้มาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวาข้อศอกซ้ายตั้ง ได้ฉากปล่อยมือซ้ายกลับลงที่เดิม งอข้อศอกขวา ๙๐ องศา คันธงอยู่บนบ่าขวา อยู่ในท่าแบกอาวุธ เมื่อเดิน ถึงธงที่ ๑ (ธงระวัง) ให้ลดธงลง จากบ่ามาแนบลำตัว มือซ้ายจับคันธงข้อศอกงอตั้งฉากขนานกับพื้นแขนขวาเหยียดตรงข้าลลำตัว ปลายธงชี้ ตรง เมื่อถึงธงที่ ๒ (ธงทำความเคารพ) ให้เหยียดแขนซ้ายตรงไปข้างหน้ากำคันธงไว้ ให้คันธงเอนออกไปข้างหน้า ประมาณ ๔๕ องศา แขนขวาเหยียดตรงแนบข้างลำตัว ตาแลตรงไปข้างหน้า เมื่อถึงธงที่ ๓ (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ดึงธงขึ้นมาอยู่ในท่าตรงสลัดแขนซ้ายกลับที่เดิมงอข้อศอกขวาคันธงอยู่บนบ่าขวาอยู่ในท่าแบกอาวุธเดินไปตามปกติ โอกาสที่จะทำความเคารพจะทำเมื่อ มีการบรรเลงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เมื่อธงคณะลูกเสือแห่งชาติ ธงลูกเสือจังหวัดที่เชิญผ่านไป องค์พระ ประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ประธานในพิธีการลูกเสือที่แต่งเครื่องแบบ
การทำความเคารพของผู้ถือป้ายประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือป้ายโดยใช้มือขวากำคันป้ายชิดกับแผ่นป้ายมือซ้ายกำต่อจากมือขวา โคนป้ายอยู่ระหว่างปลายเท้าทั้งสอง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพก็ยืนในท่าตรงปกติมืออยู่ที่เดิม เมื่อได้ยินคำสั่งให้แบกอาวุธ ให้ ปล่อยมือขวาลงมือซ้ายยกป้ายไปไว้ที่รองไหล่ขวา มือขวาจับที่โคนคันป้าย แขนซ้ายงอขนานกับพื้น แขนขวา เหยีดตรง แผ่นป้ายอยู่เหนือศรีษะเล็กน้อย
ขณะเดิน
เดินถือป้ายในท่าแบกอาวุธ หน้ามองตรง เมื่อเดินก่อนถึงธงที่ ๑ ประมาณ ๒๐ ก้าวให้บิดป้ายไปทางขวา และเดินไปเรื่อยๆจนผ่านธงที่ ๓ ให้บิดป้ายกลับ
การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ขณะทำความเคารพอยู่กับที่
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองลูกเสือสามัญ,สามัญรุ่นใหญ่, วิสามัญ และผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับขบวนสวนสนามเมื่อร่วมพิธีสวนสนามและทบทวนคำปฎิญาณจะต้องมีไม้ถือ มีข้อปฏิบัติ คือ
๑.ท่าถือปกติ ใช้มือซ้ายถือไม้ถือ โดยเอาหนีบไว้ใต้ซอกรักแร้ แขนซ้ายท่อนบนขนานกับลำตัวและ หนีบไม้ไว้แขนซ้ายท่อนล่างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือซ้ายกำโคนไม้ถือ ห่างปลายโคนไม้ถือประมาณ ๑ ฝ่ามือหงายฝ่ามือขึ้นให้ไม้ถือขนานกับพื้น
๒.ท่าบ่าอาวุธ เอามือขวาจับที่โคนไม้ถือ โดยคว่ำฝ่ามือลง แล้วดึงไม้ถือออกจากซอกรักแร้ ชี้ไม้ถือให้เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายชี้ขึ้นฟ้า แขนขวาเหยียดตรง ปล่อยแขนซ้ายลงข้างลำตัว หลังจากนั้นดึงไม้ถือเข้าหาปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอตั้งฉากขนานกับพื้น ไม้ถือชี้ขึ้นตั้งตรงมือขวากำโคนไม้ถือ นิ้วทั้ง ๔ เรียงกันด้านนอก นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านใน จากนั้นจับไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา แขนขวาเหยีดตรงแนบลำตัว โคนไม้ถืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ ปลายไม้ชี้ขึ้นตรงอยู่ในร่องไหล่ขวา
๓.ท่าวันทยาวุธ จะต้องทำต่อจากท่าบ่าอาวุธ ซึ่งในขณะนั้นไม้ถืออยู่ที่ร่องไหล่ขวา ให้ยกไม้ถือขึ้น เสมอปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอขนานกับพื้น จากนั้นให้ฟาดไม้ลงให้ปลายไม้ชี้ที่พื้นดิน เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายไม้ห่างจากพื้นดินประมาณ ๑ คืบ แขนขวาแนบลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัว เหมือนอยู่ในท่าตรง หน้ามองตรง
๔.ท่าเรียบอาวุธ ทำต่อจากท่าวันทยาวุธ ยกไม้ถือขึ้นเสมอปากแล้วดึงไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา เหมือนท่าบ่าอาวุธ (เป็นจังหวะที่ ๑ ซึ่งเมื่องสั่ง"เรียบ-อาวุธ" จะทิ้งจังหวะให้ทำในจังหวะที่ ๑ ก่น คือสั่งว่า "เรียบ" แล้วทิ้งช่วงไว้จนทำเสร็จจังหวะที่ ๑ แล้วสั่งว่า "อาวุธ" จึงเริ่มทำจังหวะที่ ๒) จากนั้นกำโคนไม้ถือ เหยียดแขนขวาขึ้นเฉียงขึ้น ๔๕ องศา ปลายไม้ถือชี้ขึ้นฟ้า หักข้อมือขวาลงให้ปลายไม้ถือชี้เข้าหาซอกรักแร้ ซ้ายงอแขนซ้ายขึ้นรองรับไม้ถือ จับไม้ถือด้วยมือซ้ายเหมือนท่าถือปกติ
การทำความเครพด้วยไม้ถือจะทำเมื่อได้ยินคำสั่ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ สั่งเมื่อประธานในพิธีมาถึงและวงดุริยางค์บรรเลงเพลง มหาฤกษ์ จนจบเพลง "เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ"วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธถ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ครั้งที่ ๓ เมื่อจะเริ่มสวนสนาม ดุริยางค์บรรเลงเพลงเดิน เช่น เพลงสยามมานุสติ"แบกอาวุธ" ทำจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ
ครั้งที่ ๔ สั่งเมื่อส่งประธานในพิธีกลับ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์"เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ขณะเดินสวนสนาม
๑.เมื่อเริ่มเดินจะถือไม้ถืออยู่ในท่าบ่าอาวุธ แขนซ้ายแกว่งปกติ แขนขวาแกว่งเล็กน้อย
๒.เมื่อเดินถึงธงที่ ๑ ยกไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธมาเสมอปาก ปลายไม้ชี้ขึ้นฟ้าแขนขวางอขนานกับพื้น แขนซ้ายแกว่งปกติ ผู้กำกับฯทำเองเมื่อเดินถึงธงที่ ๑ รองผู้กำกับฯ เมื่อถึงธงที่ ๑ ให้ทำพร้อมกับออกคำสั่งว่า "ระวัง"
๓.เมื่อเดินถึงธงที่ ๒ ก็ฟาดไม้ลงเหมือนท่าวันทยาวุธ แขนซ้ายไม่แกว่ง สลัดหน้าไปทางขวาผู้กำกับฯทำเมื่อถึงธงที่ ๒ รองผู้กำกับฯทำพร้อมออกคำสั่งว่า "แลขวา-ทำ" เมื่อเดินถึงธงที่ ๒
๔.เมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ก็ดึงไม้กลับจากท่าวันทยาวุธกลับมาเป็นท่าบ่าอาวุธ ผู้กำกับฯและรองผู้กำกับฯทำเมื่อเดินผ่านธงที่ ๓ โดยไม่ต้องออกคำสั่ง การทำความเคารพด้วยไม้ถือขณะเดินให้ทำไปพร้อมกับเดินโดยทำและออกคำสั่งเมื่อจังหวะตบเท้าซ้าย